การใช้แบบประเมินพัฒนาการ

การใช้แบบประเมินพัฒนาการ 
(แบบสำรวจรายการ / แบบตรวจสอบรายการ / มาตรประมาณค่า)

- บันทึกสรุป สามารถปฏิบัติได้ทั้งแบบ copy ข้อความที่พิมพ์ไว้ แล้วนำมาจัดรูปแบบ, 
ใช้การถ่ายภาพ (ภาพต้องคมชัด อ่านง่าย) หรือ การ scan ภาพ  ฯลฯ 
- นำเสนอผลงานจากการฝึกปฏิบัติ ลงใน Blog ของตนเอง ดังนี้  


1) ศึกษาแบบประเมินพัฒนาการเด็ก และ แบบประเมินพัฒนาการเด็กที่มีมาตรฐานของหน่วยงานต่าง ๆ  
ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดของแบบประเมินพัฒนาการดังกล่าว
และ เลือกนำแบบประเมินบางส่วนไปทดลองใช้   

2) เสนอผลงานจากการศึกษาภาคสนาม [ดำเนินการในช่วงฝึก SIL2]
- นำเสนอข้อมูลของเด็กที่เป็นกรณีศึกษา โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ



รายวิชานี้ ให้นักศึกษาใช้ข้อมูลจาก DSPM - สำหรับเด็กช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
โดยใช้ร่วมกับข้อมูลจาก "คู่มือหลักสูตรฯ ปฐมวัย 2560" - สำหรับเด็กช่วงอายุ 3 -6 ปี



[แหล่งข้อมูล]

ขั้นตอนการประเมินตามสภาพจริงเพื่อสนับสนุนพัฒนาการ
และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย




ที่มา: 
ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2560). เอกสารคำสอน รายวิชา 2717408 การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย.

กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



 



credit :  http://www.siamgoodlife.com/image/data/anamai55.gif 






download ได้ที่ : http://203.157.71.172/emedia/detail.php?p_id=50



ปัจจุบัน 
เครื่องมือในการคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0-60 เดือน มี 2 ชุด
  1. ชุดที่ 1 สำหรับเด็กปกติ เรียกว่า DSPM (Developmental Surveillance and Promotion Manual) 4
    1. DSPM จำแนกตามช่วงอายุ (เดือน) Link
    2. DSPM จำแนกตามหมวด Link
    ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการใช้เครื่องมือนี้ได้แก่ 2 กลุ่ม ได้แก่
    1. กลุ่มแรก คือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ในการ เฝ้าระวัง (Surveillance) พัฒนาการของลูกของตน ว่าในแต่ละช่วงเวลา (เดือน) สามารถทำตามที่เครื่องมือระบุหรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ ก็ให้ดูแนวทางในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพร้อมในคู่มือ
    2. กลุ่มที่ 2 คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ต้องสอนแม่หลังคลอดก่อนกลับบ้านในการใช้เครื่องมือดังกล่าว และสอนทุกครั้งเมื่อเมื่อแม่พาเด็กมารับวัคซีน นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังต้องทำ การคัดกรอง (Screening) พัฒนาการเด็กเมื่อเด็กอายุ 9 ,18,30,42 เดือน ถ้าพบว่าพัฒนาการล่าช้าหรือสงสัยล่าช้า ก็ต้องสอนแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด้กให้กระตุ้น และพามาเด็กมารับการประเมินซ้ำ ถ้ายังไม่ดีขึ้นจะทำการส่งต่อ เพื่อรับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป
  2. ชุดที่ 2 สำหรับประเมินเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กน้ำหนักตัวน้อย เรียกว่า DAIM หรือ Developmental Assessment for Invention Manual 5
    1. DAIM จำแนกตามช่วงอายุ (เดือน ) Link
    2. DAIM จำแนกตามหมวดLink



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น